สงสัย
คนต่างๆ เคยเงี่ยหูฟังสำเนียงตัวเองไหม และจะเปลี่ยนสำเนียงการพูดไหม เช่น คนที่พูดสำเนียงวัยรุ่นตลอดเวลา เมื่อทำงานจริงจังจะยังใช้สำเนียงวัยรุ่นอยู่ไหม และพอเวลาเปลี่ยน อายุมากขึ้น สำเนียงจะเปลี่ยนไปไหม
หรือสำเนียงมันเป็นเรื่องแห่งยุคสมัย+อัตลักษณ์ เหมือนเวลาเราดูละคร ตัวละครย้อนยุคจะถูกกำกับให้ออกเสียงแบบหนึ่ง พูดชัดๆ สะท้อนความดีงามในอดีต (ที่ไม่รู้ว่าจริงไหม)
กำลังสังเกตว่า บางคนมีสำเนียงหลักสำเนียงเดียว ใช้ไปตลอด (ถ้าเปลี่ยนก็แค่เปลี่ยนน้ำหนัก) ซึ่งบางทีก็ตลก เช่น คนที่พูดสำเนียงทางการตลอดเวลา บางทีก็เหนื่อย เช่น สำเนียงวัยรุ่นผู้หญิง แล้วถ้าเขาพูดแบบนั้นต่อไปเรื่อยๆ มันจะพัฒนากลายเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มไหม เช่น สำเนียงของคนใส่แว่นเอาเสื้อเข้ากางเกง สำเนียงคนที่เรียนจบโรงเรียนในเมือง สำเนียงของสาวงาม สำเนียงของผู้ชายที่พยายามไม่เป็นคนผิดพลาด ฯลฯ
สำหรับตัวเอง มีสำเนียงหลายแบบ ง้องแง้ง แก่ แก่มาก ผู้หญิง เปลี่ยนไปตามกาลเทศะ บางทีก็เป็นธรรมชาติ บางทีก็ปรุงแต่ง บางทีก็ล้อเลียนการกดทับ
เราเข้าใจว่า สำเนียงมีทั้งแบบที่แก้ได้กับแก้ไม่ได้ อย่างเราพูดไทยสำเนียงจีน อันนี้แก้ไม่ได้ แต่ในที่นี้กำลังพูดถึงสำเนียงแบบที่จงใจสร้าง
Comments