สกู๊ปประจำฉบับ
นิตยสาร s-exchange
ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, สุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปศึกษา, การงานและอาชีพ, ภาษาต่างประเทศ
วิชาไหนๆ ก็โยงเข้ากับเพศศึกษาได้
อ.อรวรรณ ไทยสวัสดิ์ ครูสอนศิลปะ โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นครูที่สนใจหยิบเรื่องรอบๆตัวนักเรียน เข้าไปในวิชาศิลปะที่เธอสอนอยู่ทั้ง ๓ แขนง คือ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์
อ.อรวรรณเริ่มจากพิจารณาว่า สิ่งล่อแหลมที่มีอยู่ในสังคมมีเรื่องอะไรบ้าง เช่น มีเรื่องยาเสพติด เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็จะเน้นใส่เนื้อหาที่ให้ความรู้เรื่องเหล่านี้ไปในวิชาเรียนแล้วให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรม
ตัวอย่างเช่น เมื่อ อ.อรวรรณ จะพูดเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พ่อแม่ ครู ฯลฯ การสอนของครูจะมีมิติที่มากกว่าเพียง ‘ครูบอก’ แล้ว ‘นักเรียนจำ’ แต่อ.อรวรรณจะปฏิบัติให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เช่น ทำตัวเป็นครูขี้บ่นให้นักเรียนทั้งรำคาญและผวา เมื่ออารมณ์ในห้องเรียนได้ที่ อ.อรวรรณก็จะให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความไม่สบายใจ ต่อปัญหาที่เกิดกับคนใกล้ตัว ซึ่งนักเรียนจะถกกันถึงทางออกในแนวทางต่างๆ ได้คำตอบอย่างไร นักเรียนมีหน้าที่นำเสนอตามวัตถุประสงค์การสอนในคาบนั้นๆ ผลที่ได้มีทั้งการนำเสนอทั้งแบบภาพเขียน หรือการแสดงละคร
อ.อรวรรณยกตัวอย่างว่า ‘เช่น เขาแสดงละคร กลุ่มไหนแสดงเสร็จ ก็จะให้เพื่อนวิจารณ์ ลักษณะการแสดง น้ำเสียงเป็นยังไง ความกล้า ความสมบทบาท ในเรื่องเป็นเรื่องวัยรุ่นเข้าไปในบาร์ พอเล่นเสร็จแล้วเพื่อนวิจารณ์ว่า เล่นได้ดีมาก ‘แรด’ สมกับที่เข้าไปในบาร์ อาจารย์ก็จะชวนเขาคุยว่า ‘เหรอ... ‘แรด’ นี่เป็นยังไง แล้วเคยเข้าไปในบาร์ไหม มันดีไหม ไปแล้วเป็นยังไง’
ด้วยวิธีคล้ายๆกันนี้ ที่ทางเหนือของเรา โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ก็สอดแทรกเรื่องเพศเข้าไปในวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เช่น สอนเรื่องคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ให้นักเรียนแต่งโคลงกลอน แล้วเปิดประเด็นการพูดคุย
เรียนรู้จริง หรือได้แค่จัด
‘สำคัญคือเมื่อหมดวันแล้ว เด็กได้อะไร เด็กได้แนวคิดไหม’ ดร.อุทัยกล่าว
‘แรงขับทางเพศ เราห้ามไม่ได้ แต่เราติดปัญญาทางเพศให้เขาได้’ อ.ก่อศักดิ์ กล่าว
แนวคิดนี้จึงเป็นต้นสายปลายเหตุ ที่ทำให้เรื่องเพศศึกษาเข้าไปสู่โรงเรียนสทิงพระวิทยา โรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมฯในจังหวัดสงขลา
แต่อ.ก่อศักดิ์ก็คิดต่อว่า แล้วจะนำเข้าสู่โรงเรียนอย่างไร อย่างที่เคยคิดง่ายๆ ทำง่ายๆคือ การจัดกิจกรรมรณรงค์
‘ผมถามว่า ที่จัดๆกันนั้น คุณรู้ไหมเด็กได้อะไร คำตอบคือ ไม่ แต่แค่ ‘ได้จัด’’
ดังนั้น วิธีที่อ.ก่อศักดิ์เลือก คือ ตั้งเป็นวิชา ใช้ชื่อว่าวิชา ‘เพศศึกษารอบด้าน’ เปิดสอนแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔
‘เมื่อทำแล้ว ถามว่าได้ผลไหม ก็ตอบได้แค่ว่า เป็นวิชาที่ครูยืนยันว่า เด็กไปนั่งรอเรียน’ อ.ก่อศักดิ์ตอบ
อีกปัญหาใหญ่สำหรับคุณครูคือ เนื้อหาที่ต้องสอนอัดแน่น แต่มีเวลาจำกัด การจะใช้เวลาไปกับการเชื่อมโยงวิชาไหนเข้ามา ก็เท่ากับมาเบียดเบียนเวลาอันน้อยนิดที่ครูต้องเร่งสอนให้ครบตามหลักสูตร
‘เพราะครูถูกเทรนมาแบบสายเดี่ยวหมด จริงๆต้องใช้เกาะอก’ ดร.อุทัยพูดเปรียบเปรยว่า นอกจากคุณครูจะต้องสอนเนื้อหาให้ครบตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรแล้ว คุณครูยังถูกสอนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องของตนเอง ทั้งที่จริงๆการเรียนการสอนต้องคลุมทั้งหมด ไม่ใช่แบบสายเดี่ยว แต่เป็นเกาะอก เป็นผ้าถุง นั่นคือเป็นการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic)
‘หลักสูตรเนื้อหามากไป ทั้งที่เรียนมากๆ เดี๋ยวก็ลืม ตอนนี้ให้ผมไปเอ็นท์ รับรองตกแหงๆ’ ดร.อุทัยกล่าว
และเช่นเดียวกัน ครูเองก็เบื่อหน่าย เพราะมักมีโครงการต่างๆ เข้าไปในโรงเรียน เช่น โครงการป้องกันยาเสพติดของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ ขององค์กรแพธและเครือข่ายพันธมิตร ที่ต่างก็พยายามจะเข้าไปเจาะกระบวนการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษา ทั้งที่ทั้งหมดก็ล้วนอยู่ในเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้แบบองค์รวมอยู่แล้ว
เนื้อหามี เวลาไม่พอ ทางออกอยู่ไหน
เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเนื้อหาแน่น แต่ครูผู้สอน เป็นครูที่รอบรู้และมีบุคลิกที่นักเรียนอยากเข้าหา ทางโรงเรียนจะแถม ‘ชั่วโมงค้นคว้า’ ซึ่งเป็นชั่วโมงการเรียนรู้แบบอิสระของนักเรียน กับ ‘คาบประชุม’ ซึ่งเป็นชั่วโมงที่ครูกับนักเรียนมาร่วมคุยแลกเปลี่ยนทำกิจกรรมกันสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง เพื่อเปิดช่องให้คุณครูและนักเรียนใช้เวลาเหล่านี้ในการเรียนรู้
เช่นที่โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่งเคยทำ คือ เปิดคาบประชุมให้เป็นเวทีทอล์กโชว์ โดยอาจารย์นักพูดที่นักเรียนชื่นชอบ ซึ่งเรียกความสนใจได้โข
การให้ ‘บริการเสริม’ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่งมีปัญหาที่ครูห่วงคือเรื่องความรัก อ.จินตนาและคุณครูส่วนหนึ่งจึงเปิดให้บริการเสริม แจกเบอร์มือถือให้นักเรียน ทำเป็นฮอตไลน์สายด่วน เปิดสายให้นักเรียนโทรหาได้ตลอดเวลา งานนี้ ปกปิดชื่อ คุยได้ทุกเรื่อง พร้อมสัญญาว่า จะไม่เอาไปฟ้องฝ่ายปกครองแน่นอน
คล้ายๆกันที่โรงเรียนสทิงพระวิทยา ที่มี Question Box หรือกล่องคำถาม ให้นักเรียนมาหย่อนคำถามเอาไว้ แล้วครูจะหาคำตอบมาแปะไว้ที่บอร์ด คำถามที่พบก็เช่น ‘หน้าเจ็ดหลังเจ็ด’ หมายถึงอะไร ส่วนใหญ่เป็นคำถามแนว Safe Sex ซึ่งทางโรงเรียนจะเชื่อมโยงกับคุณหมอในละแวกใกล้เคียง และสาธารณสุขอำเภอ ที่มาช่วยกันตอบคำถามบางส่วนด้วย
เทคนิคคุณครู
จะทำอย่างไร ที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้ดี
อ.อรวรรณ ไทยสวัสดิ์ โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง เห็นว่า ครูที่มีบุคลิกที่ดูสบายๆ หัวใจวัยรุ่น พูดจาโดนใจ จะทำให้นักเรียนสบายใจที่จะเข้าหาและกล้าพูดคุยด้วย
อ.จินตนา จิตนารินทร์ โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง กล่าวว่า ครูต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เอื้ออำนวย ต้องเป็นคนที่นักเรียนเข้าหา ไว้ใจ พูดคุยให้คำปรึกษาไม่ใช่ตอบโต้ด้วยวิธีที่มุ่งประหัตประหารเด็ก เช่น ไปดุซ้ำว่าทำไมถึงทำแบบนี้! หรืออีกนัยหนึ่งคือ ‘ต้องไม่ทำตัวเป็นฝ่ายปกครอง แต่ต้องเป็นฝ่ายแนะแนว’
การให้โอกาสนักเรียน เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ อ.ก่อศักดิ์ ศรีน้อย ผู้อำนวยการโรงเรียนสทิงพระวิทยา เคยเผชิญสถานการณ์ที่นักเรียนเรียนดีคนหนึ่ง เป็นที่ชื่นชมของทุกคน แต่เธอหายไปกับเพื่อนชายคนหนึ่งในคืนเทศกาลสำคัญ แม่ของเธอมองว่าเป็นเรื่องบัดสี ความอับอายทำให้แม่ดึงดันจะให้ลูกลาออกจากโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนจึงต้องรั้งไว้ แต่คุณครูในโรงเรียนก็พากันตั้งคำถามว่า ทำไมจึงยอมให้เด็กท้องมานั่งสอบ แต่สุดท้ายทุกฝ่ายก็เข้าใจกันด้วยดีเมื่อชี้แจงข้อมูลกัน
นั่นคือ นอกจากบุคลิกของครูแล้ว บรรยากาศของเพื่อนครูด้วยกันก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น กรณีเพศศึกษา หากไม่ได้สื่อสารทำความเข้าใจกับคุณครูท่านอื่นๆ จะเกิดปฏิกิริยาไม่ยอมรับ
นอกจากนี้ การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา จะเอื้อให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้
อ.อรวรรณมีเทคนิคว่า ครูผู้สอนต้องสังเกตลักษณะของนักเรียน บางทีนักเรียนห้องหนึ่งอาจจะเงียบสนิท แต่อีกห้องหนึ่งกลับช่างพูด ถ้าเป็นห้องที่เรียนเก่งก็จะอีกแบบหนึ่ง เช่น นักเรียนห้องคิงถ้าให้พูดจะไม่ยอมพูด แต่จะชอบถ้าให้เขียน ขณะที่บางห้องก็จะไม่ชอบเขียน แต่ชอบพูดมากกว่า
‘เด็กห้องที่ไม่พูดเราก็รุกเร้า สังเกตการณ์ คอยสรุป แล้วให้ทุกคนให้คะแนนกันเอง แล้วมีความคิดเห็นร่วมกัน’ อ.อรวรรณก็คอยเก็บข้อมูลจากการฟังเสียงวิจารณ์จากรอบนอก ที่จะทำให้เข้าใจวิธีคิดของนักเรียน
บทเรียนที่ได้จะมาจากการพูดคุยกันในชั้นเรียน และคะแนนที่นักเรียนทุกคนได้รับก็มาจากกิจกรรมที่ตนทำแล้วเพื่อนทั้งห้องร่วมกันประเมินนั่นเอง
คุณครูวิชาศิลปะท่านเดิมกระซิบให้ฟังว่า เมื่อบูรณาการมากเข้า หลังๆนักเรียนจะมาถามก่อนถึงชั่วโมงเรียนว่า ‘แม่ วันนี้จะเรียนอะไรกัน’ แม้เธอจะเก็บงำคำตอบไว้เป็นความลับ แต่อย่างน้อยก็สัมผัสได้ถึงความกระตือรือร้นที่นักเรียนจะเข้าห้องเรียน
แสดงว่า อะไรที่นอกเรื่องวิชาเรียน…วัยรุ่นชอบ ‘สายเดี่ยว’ ไม่เอา ขอแนว ‘ผ้าถุง’ กับ ‘เกาะอก’ ดีกว่า
นิตยสาร s-exchange
การศึกษาไร้สาย
ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, สุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปศึกษา, การงานและอาชีพ, ภาษาต่างประเทศ
ถ้าลองนึกคำสักคำขึ้นมา แล้วโยนคำนั้นใส่ลงไปในหมวดของสาระตามที่ว่ามานี้ คงจะผูกเรื่องออกมาได้เป็นเรื่องราวไม่รู้จบ
นั่นคือ ไม่ว่าคำไหน เรื่องอะไร ล้วนเกี่ยวข้องกับทั้ง ๘ วิชาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งยังโยงใยกันนัวเนียเหมือนใยแมงมุม ให้พูดให้เล่าได้เป็นสารพัดแล้วแต่จะนึกได้
เพราะทุกอย่างเกี่ยวเนื่องกัน จึงมีแนวคิดเรื่อง ‘การบูรณาการ’ เกิดขึ้น
ดร.อุทัย ดุลยเกษม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า การบูรณาการเกิดขึ้นได้กับทุกวิชา เพียงแต่บางเรื่องกับบางวิชาอาจจะบูรณาการง่าย ขณะที่กับบางวิชาอาจจะซับซ้อน แต่ทั้งหมดมีมุมให้บูรณาการได้แน่นอน
ปัญหาของครูเมื่อต้องบูรณาการคือ อาจจะไม่มั่นใจในสาระที่กำลังจะสอน อีกปัญหาคือ ตีความสาระที่จะบูรณาการผิด ทำให้นำไปใช้กับวิชาต่างๆไม่ได้
ดร.อุทัยยกตัวอย่างว่า การจะนำเรื่องเพศศึกษาเข้าสู่บทเรียน ถ้าตีความเพศศึกษาไม่ชัดเจน ก็จะเอาไปบูรณาการไม่ได้ เช่น ติดกับความหมายแคบที่มองเรื่องเพศศึกษาเป็นเพียงเรื่องของเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย (Safe Sex) อย่างเดียว จะทำให้เอาเนื้อหาเชื่อมโยงเข้าบทเรียนต่างๆ ยาก แต่หากมองว่า เรื่องเพศเป็นเรื่องระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เป็นเรื่อง Human Relation ทำความเข้าใจว่า ความแตกต่างหลากหลายของคนเป็นเรื่องปกติ เช่น แม้ในเพศชายแต่ละคน ก็ยังแตกต่าง มีอ้วน ผอม สูง เตี้ย คล้ำ ขาว ยาว หยิก ซึ่งการทำความเข้าใจในความหมายของความแตกต่างว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องใครดีกว่าใคร เป็นเรื่องพื้นฐานของความเข้าใจในทุกสิ่ง ซึ่งเกี่ยวโยงไปได้กับทุกวิชา
วิชาไหนๆ ก็โยงเข้ากับเพศศึกษาได้
อ.อรวรรณ ไทยสวัสดิ์ ครูสอนศิลปะ โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นครูที่สนใจหยิบเรื่องรอบๆตัวนักเรียน เข้าไปในวิชาศิลปะที่เธอสอนอยู่ทั้ง ๓ แขนง คือ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์
อ.อรวรรณเริ่มจากพิจารณาว่า สิ่งล่อแหลมที่มีอยู่ในสังคมมีเรื่องอะไรบ้าง เช่น มีเรื่องยาเสพติด เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็จะเน้นใส่เนื้อหาที่ให้ความรู้เรื่องเหล่านี้ไปในวิชาเรียนแล้วให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรม
ตัวอย่างเช่น เมื่อ อ.อรวรรณ จะพูดเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พ่อแม่ ครู ฯลฯ การสอนของครูจะมีมิติที่มากกว่าเพียง ‘ครูบอก’ แล้ว ‘นักเรียนจำ’ แต่อ.อรวรรณจะปฏิบัติให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เช่น ทำตัวเป็นครูขี้บ่นให้นักเรียนทั้งรำคาญและผวา เมื่ออารมณ์ในห้องเรียนได้ที่ อ.อรวรรณก็จะให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความไม่สบายใจ ต่อปัญหาที่เกิดกับคนใกล้ตัว ซึ่งนักเรียนจะถกกันถึงทางออกในแนวทางต่างๆ ได้คำตอบอย่างไร นักเรียนมีหน้าที่นำเสนอตามวัตถุประสงค์การสอนในคาบนั้นๆ ผลที่ได้มีทั้งการนำเสนอทั้งแบบภาพเขียน หรือการแสดงละคร
อ.อรวรรณยกตัวอย่างว่า ‘เช่น เขาแสดงละคร กลุ่มไหนแสดงเสร็จ ก็จะให้เพื่อนวิจารณ์ ลักษณะการแสดง น้ำเสียงเป็นยังไง ความกล้า ความสมบทบาท ในเรื่องเป็นเรื่องวัยรุ่นเข้าไปในบาร์ พอเล่นเสร็จแล้วเพื่อนวิจารณ์ว่า เล่นได้ดีมาก ‘แรด’ สมกับที่เข้าไปในบาร์ อาจารย์ก็จะชวนเขาคุยว่า ‘เหรอ... ‘แรด’ นี่เป็นยังไง แล้วเคยเข้าไปในบาร์ไหม มันดีไหม ไปแล้วเป็นยังไง’
ด้วยวิธีคล้ายๆกันนี้ ที่ทางเหนือของเรา โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ก็สอดแทรกเรื่องเพศเข้าไปในวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เช่น สอนเรื่องคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ให้นักเรียนแต่งโคลงกลอน แล้วเปิดประเด็นการพูดคุย
เรียนรู้จริง หรือได้แค่จัด
สำหรับดร.อุทัยแล้ว ไม่ได้ตีกรอบว่า อะไรจึงเรียกว่า บูรณาการ หรืออย่างใดไม่ใช่ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยเล็กๆน้อยๆระหว่างครูกับนักเรียน การนำกิจกรรมเข้าไปใช้ ฯลฯ ล้วนเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการหมด
‘สำคัญคือเมื่อหมดวันแล้ว เด็กได้อะไร เด็กได้แนวคิดไหม’ ดร.อุทัยกล่าว
เช่นเดียวกัน อ.ก่อศักดิ์ ศรีน้อย ผู้อำนวยการโรงเรียนสทิงพระวิทยา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เกิดโจทย์ในใจขึ้นว่า ปัญหาเรื่องเพศเป็นปัญหาที่รุนแรง แล้วการเรียนรู้เรื่องเพศก็มักจะมาจากแหล่งที่ผิด อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้ที่จำกัดอยู่แค่เรื่องการร่วมเพศ
‘แรงขับทางเพศ เราห้ามไม่ได้ แต่เราติดปัญญาทางเพศให้เขาได้’ อ.ก่อศักดิ์ กล่าว
แนวคิดนี้จึงเป็นต้นสายปลายเหตุ ที่ทำให้เรื่องเพศศึกษาเข้าไปสู่โรงเรียนสทิงพระวิทยา โรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมฯในจังหวัดสงขลา
แต่อ.ก่อศักดิ์ก็คิดต่อว่า แล้วจะนำเข้าสู่โรงเรียนอย่างไร อย่างที่เคยคิดง่ายๆ ทำง่ายๆคือ การจัดกิจกรรมรณรงค์
‘ผมถามว่า ที่จัดๆกันนั้น คุณรู้ไหมเด็กได้อะไร คำตอบคือ ไม่ แต่แค่ ‘ได้จัด’’
ดังนั้น วิธีที่อ.ก่อศักดิ์เลือก คือ ตั้งเป็นวิชา ใช้ชื่อว่าวิชา ‘เพศศึกษารอบด้าน’ เปิดสอนแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔
‘เมื่อทำแล้ว ถามว่าได้ผลไหม ก็ตอบได้แค่ว่า เป็นวิชาที่ครูยืนยันว่า เด็กไปนั่งรอเรียน’ อ.ก่อศักดิ์ตอบ
อีกปัญหาใหญ่สำหรับคุณครูคือ เนื้อหาที่ต้องสอนอัดแน่น แต่มีเวลาจำกัด การจะใช้เวลาไปกับการเชื่อมโยงวิชาไหนเข้ามา ก็เท่ากับมาเบียดเบียนเวลาอันน้อยนิดที่ครูต้องเร่งสอนให้ครบตามหลักสูตร
‘เพราะครูถูกเทรนมาแบบสายเดี่ยวหมด จริงๆต้องใช้เกาะอก’ ดร.อุทัยพูดเปรียบเปรยว่า นอกจากคุณครูจะต้องสอนเนื้อหาให้ครบตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรแล้ว คุณครูยังถูกสอนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องของตนเอง ทั้งที่จริงๆการเรียนการสอนต้องคลุมทั้งหมด ไม่ใช่แบบสายเดี่ยว แต่เป็นเกาะอก เป็นผ้าถุง นั่นคือเป็นการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic)
‘หลักสูตรเนื้อหามากไป ทั้งที่เรียนมากๆ เดี๋ยวก็ลืม ตอนนี้ให้ผมไปเอ็นท์ รับรองตกแหงๆ’ ดร.อุทัยกล่าว
และเช่นเดียวกัน ครูเองก็เบื่อหน่าย เพราะมักมีโครงการต่างๆ เข้าไปในโรงเรียน เช่น โครงการป้องกันยาเสพติดของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ ขององค์กรแพธและเครือข่ายพันธมิตร ที่ต่างก็พยายามจะเข้าไปเจาะกระบวนการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษา ทั้งที่ทั้งหมดก็ล้วนอยู่ในเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้แบบองค์รวมอยู่แล้ว
เนื้อหามี เวลาไม่พอ ทางออกอยู่ไหน
อ.จินตนา จิตนารินทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง กล่าวว่า เมื่อจะบูรณาการเรื่องใดเข้าสู่การสอน ก็ต้องหาพื้นที่และหาโอกาสที่จะให้เอาเข้าสู่วิชาเรียนด้วย
เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเนื้อหาแน่น แต่ครูผู้สอน เป็นครูที่รอบรู้และมีบุคลิกที่นักเรียนอยากเข้าหา ทางโรงเรียนจะแถม ‘ชั่วโมงค้นคว้า’ ซึ่งเป็นชั่วโมงการเรียนรู้แบบอิสระของนักเรียน กับ ‘คาบประชุม’ ซึ่งเป็นชั่วโมงที่ครูกับนักเรียนมาร่วมคุยแลกเปลี่ยนทำกิจกรรมกันสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง เพื่อเปิดช่องให้คุณครูและนักเรียนใช้เวลาเหล่านี้ในการเรียนรู้
เช่นที่โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่งเคยทำ คือ เปิดคาบประชุมให้เป็นเวทีทอล์กโชว์ โดยอาจารย์นักพูดที่นักเรียนชื่นชอบ ซึ่งเรียกความสนใจได้โข
การให้ ‘บริการเสริม’ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่งมีปัญหาที่ครูห่วงคือเรื่องความรัก อ.จินตนาและคุณครูส่วนหนึ่งจึงเปิดให้บริการเสริม แจกเบอร์มือถือให้นักเรียน ทำเป็นฮอตไลน์สายด่วน เปิดสายให้นักเรียนโทรหาได้ตลอดเวลา งานนี้ ปกปิดชื่อ คุยได้ทุกเรื่อง พร้อมสัญญาว่า จะไม่เอาไปฟ้องฝ่ายปกครองแน่นอน
เรื่องที่นักเรียนปรึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัพเพเหระ เช่น เขาจะโกรธหนูไหม หนูควรทำอย่างไร งานนี้คุณครูจึงทำหน้าที่เหมือนเป็นศิราณี ให้คำปรึกษาเรื่องของใจ อ.จินตนากล่าวว่า มีบ้างบางครั้งที่นักเรียนมีความกังวลแล้วมาปรึกษาเช่น กำลังกังวลว่าจะตั้งครรภ์ ซึ่งปัญหาต่างๆของนักเรียน ก็คือบทเรียนของครูที่ทำให้ต้องมาปรับกลยุทธ์กันใหม่ เช่น เมื่อพบว่าวัยรุ่นกำลังกังวลว่าจะตั้งครรภ์ก็เท่ากับว่าเขามีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ครูก็ต้องปรับกลยุทธ์การสอนไปใส่เนื้อหาในโอกาสต่างๆ
คล้ายๆกันที่โรงเรียนสทิงพระวิทยา ที่มี Question Box หรือกล่องคำถาม ให้นักเรียนมาหย่อนคำถามเอาไว้ แล้วครูจะหาคำตอบมาแปะไว้ที่บอร์ด คำถามที่พบก็เช่น ‘หน้าเจ็ดหลังเจ็ด’ หมายถึงอะไร ส่วนใหญ่เป็นคำถามแนว Safe Sex ซึ่งทางโรงเรียนจะเชื่อมโยงกับคุณหมอในละแวกใกล้เคียง และสาธารณสุขอำเภอ ที่มาช่วยกันตอบคำถามบางส่วนด้วย
เทคนิคคุณครู
จะทำอย่างไร ที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้ดี
อ.อรวรรณ ไทยสวัสดิ์ โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง เห็นว่า ครูที่มีบุคลิกที่ดูสบายๆ หัวใจวัยรุ่น พูดจาโดนใจ จะทำให้นักเรียนสบายใจที่จะเข้าหาและกล้าพูดคุยด้วย
อ.จินตนา จิตนารินทร์ โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง กล่าวว่า ครูต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เอื้ออำนวย ต้องเป็นคนที่นักเรียนเข้าหา ไว้ใจ พูดคุยให้คำปรึกษาไม่ใช่ตอบโต้ด้วยวิธีที่มุ่งประหัตประหารเด็ก เช่น ไปดุซ้ำว่าทำไมถึงทำแบบนี้! หรืออีกนัยหนึ่งคือ ‘ต้องไม่ทำตัวเป็นฝ่ายปกครอง แต่ต้องเป็นฝ่ายแนะแนว’
การให้โอกาสนักเรียน เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ อ.ก่อศักดิ์ ศรีน้อย ผู้อำนวยการโรงเรียนสทิงพระวิทยา เคยเผชิญสถานการณ์ที่นักเรียนเรียนดีคนหนึ่ง เป็นที่ชื่นชมของทุกคน แต่เธอหายไปกับเพื่อนชายคนหนึ่งในคืนเทศกาลสำคัญ แม่ของเธอมองว่าเป็นเรื่องบัดสี ความอับอายทำให้แม่ดึงดันจะให้ลูกลาออกจากโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนจึงต้องรั้งไว้ แต่คุณครูในโรงเรียนก็พากันตั้งคำถามว่า ทำไมจึงยอมให้เด็กท้องมานั่งสอบ แต่สุดท้ายทุกฝ่ายก็เข้าใจกันด้วยดีเมื่อชี้แจงข้อมูลกัน
นั่นคือ นอกจากบุคลิกของครูแล้ว บรรยากาศของเพื่อนครูด้วยกันก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น กรณีเพศศึกษา หากไม่ได้สื่อสารทำความเข้าใจกับคุณครูท่านอื่นๆ จะเกิดปฏิกิริยาไม่ยอมรับ
นอกจากนี้ การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา จะเอื้อให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้
อ.อรวรรณมีเทคนิคว่า ครูผู้สอนต้องสังเกตลักษณะของนักเรียน บางทีนักเรียนห้องหนึ่งอาจจะเงียบสนิท แต่อีกห้องหนึ่งกลับช่างพูด ถ้าเป็นห้องที่เรียนเก่งก็จะอีกแบบหนึ่ง เช่น นักเรียนห้องคิงถ้าให้พูดจะไม่ยอมพูด แต่จะชอบถ้าให้เขียน ขณะที่บางห้องก็จะไม่ชอบเขียน แต่ชอบพูดมากกว่า
‘เด็กห้องที่ไม่พูดเราก็รุกเร้า สังเกตการณ์ คอยสรุป แล้วให้ทุกคนให้คะแนนกันเอง แล้วมีความคิดเห็นร่วมกัน’ อ.อรวรรณก็คอยเก็บข้อมูลจากการฟังเสียงวิจารณ์จากรอบนอก ที่จะทำให้เข้าใจวิธีคิดของนักเรียน
บทเรียนที่ได้จะมาจากการพูดคุยกันในชั้นเรียน และคะแนนที่นักเรียนทุกคนได้รับก็มาจากกิจกรรมที่ตนทำแล้วเพื่อนทั้งห้องร่วมกันประเมินนั่นเอง
คุณครูวิชาศิลปะท่านเดิมกระซิบให้ฟังว่า เมื่อบูรณาการมากเข้า หลังๆนักเรียนจะมาถามก่อนถึงชั่วโมงเรียนว่า ‘แม่ วันนี้จะเรียนอะไรกัน’ แม้เธอจะเก็บงำคำตอบไว้เป็นความลับ แต่อย่างน้อยก็สัมผัสได้ถึงความกระตือรือร้นที่นักเรียนจะเข้าห้องเรียน
แสดงว่า อะไรที่นอกเรื่องวิชาเรียน…วัยรุ่นชอบ ‘สายเดี่ยว’ ไม่เอา ขอแนว ‘ผ้าถุง’ กับ ‘เกาะอก’ ดีกว่า
Comments