ร่างพรบ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ฉบับ ประเทศไทย จำกัดมหาชน
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2547 คณะรัฐมนตรีทั้งคณะมีมติให้ผ่านร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง เป็นร่างกฎหมายฉบับใหญ่ ที่มีความยาวถึง 110 มาตรา! เนื้อหามีผลให้ต้องยกเลิกกฎหมายหลายฉบับ!
เนื้อหาในร่างดังกล่าว สัก กอแสงเรือง สมาชิกวุฒิสภา อดีตนายกสภาทนายความ ถึงขั้นกล่าวว่า “ผมยกย่องคนร่างจริงๆ คนธรรมดาอย่างพวกเรานี่คิดไม่ได้หรอก”
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้น คือ ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ….
…
และต่อไปนี้ คือเนื้อหาของกฎหมาย ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ
หนึ่ง
เขตเศรษฐกิจพิเศษ คืออะไร
หลักการและเหตุผลของกฎหมายฉบับนี้ มาจากความต้องการที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น พัฒนาการให้บริการของภาครัฐโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่กฎหมายเดิม ซึ่งคือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522 ไม่เอื้อต่อการพัฒนาดังกล่าว เพราะเน้นเพียงการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้น แต่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการ “ให้บริการ” ของภาครัฐ จึงจะยกเลิกกฎหมายดังกล่าว และให้มีกฎหมายว่าด้วย “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ขึ้น
หลักการและเหตุผลของกฎหมายฉบับนี้ มาจากความต้องการที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น พัฒนาการให้บริการของภาครัฐโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่กฎหมายเดิม ซึ่งคือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522 ไม่เอื้อต่อการพัฒนาดังกล่าว เพราะเน้นเพียงการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้น แต่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการ “ให้บริการ” ของภาครัฐ จึงจะยกเลิกกฎหมายดังกล่าว และให้มีกฎหมายว่าด้วย “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ขึ้น
เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก และ “ให้สิทธิพิเศษบางประการ” ในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริการ การผังเมือง การอยู่อาศัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือ “การอื่นใด”[1] อันครอบคลุมกว้างขวาง
คณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย “นายกรัฐมนตรี” เป็นประธานผู้มีอำนาจสูงสุด รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ มีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่าเจ็ด แต่ไม่เกินสิบคน เป็นกรรมการ
แต่ทว่า คณะกรรมการนโยบาย จะเชิญรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงใดๆ ให้มาเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวได้[2] แล้วรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงผู้มาประชุมนั้น มีฐานะเป็น “กรรมการ” ทันที แสดงว่า สัดส่วนของกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในภาครัฐ ภาครัฐมนตรี สามารถที่จะยืดหยุ่น เพิ่มขึ้นได้ ตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบาย โดยทั้งหมดอยู่ในความดูแลของนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจสูงสุด
ฐานะของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ มีฐานะเป็น “องค์กรมหาชน”[3] แต่เขตเศรษฐกิจพิเศษมีฐานะเป็น “นิติบุคคล”[4] ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติใด ๆ ที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน อีกนัยหนึ่งคือ เป็นองค์กรมหาชนที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายองค์กรมหาชน
“มันอยู่เหนือกฎหมาย! มีอำนาจ แต่ไม่มีหน้าที่! ไม่มีภาคบังคับให้อยู่ในกรอบของกฎหมายใดๆ!” สัก กอแสงเรือง กล่าวถึงร่างพรบ.ดังกล่าวในที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา
คณะกรรมการนโยบาย สามารถดำเนินการใดๆ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย ซึ่งมีหน้าที่ [5] ทั้งเป็นธุรการ ศึกษา เสนอแนะกิจการต่าง ๆ รวมทั้งมีหน้าที่ในการ “ร่วมประกอบการงาน” หรือ “ร่วมลงทุน” กับเขตเศรษฐกิจพิเศษในกิจการทั้งปวงของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ในเรื่องนี้ นายสัก กอแสงเรืองกล่าวว่า “สำนักงานทำหน้าที่ธุรการตามมาตรา 12 แต่สำนักงานยังไปร่วมประกอบการ หรือร่วมลงทุนกับเศรษฐกิจพิเศษได้ เลยทำให้สงสัยว่าอำนาจของสำนักงาน มันบริหารจัดการทำหน้าที่ธุรการจริงหรือเปล่า พอไปประกอบการหรือร่วมลงทุน มันเป็นพ่อค้าไปแล้ว เป็นนักลงทุนไปแล้ว เป็นผู้ประกอบการไปแล้ว ตกลงสำนักงานมีฐานะเป็นสำนักงานตามอำนาจหน้าที่จริงหรือเปล่า”
การจัดตั้ง เปลี่ยนแปลงเขต หรือยุบเลิกเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา[6] ก่อนที่ครม.จะให้ความเห็นชอบ ให้ครม.ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อ “ทราบ” นั่นคือ สภาไม่มีอำนาจพิจารณา ไม่มีอำนาจทักท้วง ทบทวน ส่งคืน หรือทำให้พระราชกฤษฎีกาตกไป นอกจากเป็นสภาตรายาง อำนาจทั้งหมดถูกรวบไว้ที่ฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน
“ให้ฝ่ายบริหารออกพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นกฎหมายลูก ยกเว้นกฎหมายในรูปแบบของพระราชบัญญัติที่ออกโดยสภาได้มากมาย!”
[1] มาตรา 6 : เมื่อมีกรณีสมควรส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมตลอดทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการภายในเขตพื้นที่เฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริการ การผังเมือง การอยู่อาศัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือการอื่นใด รวมทั้งการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการที่ดี และการจัดให้เป็นเขตประกอบการเสรี อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามพระราชบัญญัตินี้
[1] มาตรา 6 : เมื่อมีกรณีสมควรส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมตลอดทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการภายในเขตพื้นที่เฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริการ การผังเมือง การอยู่อาศัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือการอื่นใด รวมทั้งการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการที่ดี และการจัดให้เป็นเขตประกอบการเสรี อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามพระราชบัญญัตินี้
[2] มาตรา 7 วรรคสี่ : ในการประชุมพิจารณาเรื่องใด คณะกรรมการนโยบายจะเชิญรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นให้เข้าร่วมประชุมในฐานะเป็นกรรมการเป็นครั้งคราวด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงซึ่งได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการตามวรรคหนึ่งสำหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น
[3] มาตรา 11 : ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ มีฐานะเป็นองค์การมหาชน
การใดที่มิได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้ถือว่าคณะกรรมการนโยบายมีฐานะเป็นคณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่บริหารสำนักงาน และนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
[4] มาตรา 16 วรรค 3 : ให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติใด ๆ ที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าพนักงานและลูกจ้างของเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
[5] มาตรา 12 : สำนักงานมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ทำหน้าที่ธุรการของคณะกรรมการนโยบาย
(๒) ศึกษา เตรียมการ เสนอแนะกิจการต่าง ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย
(๓) ศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจและการเงินในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ละเขต ผลกระทบและความคุ้มค่าในประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่จะได้รับ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย
(๓ / ๑) ให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อประกอบการสึกษาวิเคราห์และเสนอแนะแนวทางป้องกันหรือแก้ไขผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งก่อนและหลังการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(๕) ร่วมประกอบการงานหรือร่วมลงทุนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในกิจการทั้งปวงของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดหรือตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย
(๑) ทำหน้าที่ธุรการของคณะกรรมการนโยบาย
(๒) ศึกษา เตรียมการ เสนอแนะกิจการต่าง ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย
(๓) ศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจและการเงินในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ละเขต ผลกระทบและความคุ้มค่าในประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่จะได้รับ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย
(๓ / ๑) ให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อประกอบการสึกษาวิเคราห์และเสนอแนะแนวทางป้องกันหรือแก้ไขผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งก่อนและหลังการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(๕) ร่วมประกอบการงานหรือร่วมลงทุนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในกิจการทั้งปวงของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดหรือตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย
[6] มาตรา 16 : การจัดตั้ง เปลี่ยนแปลงเขต และการยุบเลิกเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
Comments